Bravo Music everthing for string player
Email: Password:
New Register | Forget your password?
Log on to System | Forget Password | New Register | Promotion | How to Order? | How to Pay? | How to Deliver? | Tell a Friend | How to choose violin | String guide | Violin Parts | Violin Care & Maintenance | Setup| Dealers Certificate I Rentals Violin & Cello | Violin & Cello Lesson | Musical Instrument Guide | After Service I Vegan Bow I Sound System Term I Amplifiers Class I Type of Guitar I Violin Style I Why? Bravomusic I Violin&Cello Teachers | Free Sheet Music
    ไทย   Your Basket item(s)
Product Search:
Share on
Category
 

Main Menu
Log on to System
Forget Password
New Register
Promotion
How to Order?
How to Pay?
How to Deliver?
Tell a Friend
Tips & Trick
 

   
   
   
   

 

ชมรมดับเบิ้ลเบสไทย
บริการวงดนตรีสำหรับงานวิวาห์และงานโอกาสต่างๆ
ชมรมดนตรี
ห้องอัดเสียง BM Recording Studio ห้องบันทึกเสียงคุณภาพดี
Amplifiers Class

 

ความแตกต่างของตู้แอมป์ แต่ละ Class

ตู้แอมป์คลาส เอ (Class A)

ถือเป็นคลาสที่ให้พลังเสียงที่มีคุณภาพสูงกว่าคลาสอื่นๆ มีค่าความเพี้ยนตํ่ามากๆ เสียงรบกวนน้อย และมีคุณภาพเสียงที่เหมือนและใกล้เคียงเสียงต้นฉบับมากที่สุด เนื่องจากระบบไฟเลี้ยงที่มีการป้อนกระแสไฟให้ทรานซิสเตอร์หรือตัวขยายแบบ 100% เต็ม
ซึ่งมีผลในเรื่องของความร้อนที่ค่อนข้างจะสูงเพราะมีการป้อนกระแสไฟให้อย่างต่อเนื่อง จึงต้องดีไซน์ระบบระบายควาทร้อนแบบซิงค์เหมือน CPU ของคอมพิวเตอร์ Class A จึงสามารถใช้ฟังเพลงได้ดีมีความละเอียดสูง เสียงเบสนั้นจะนุ่มหู
ไม่เน้นเสียงกระแทรกที่ดังตูมตามจึงเหมาะสำหรับคนที่ฟังเพลงแนวคลาสสิค หรือแจ๊ส สำหรับตู้แอมป์อะคูสติก A Class ที่ใช้ลำโพงจากอิตาลี จึงเหมาะสำหรับการใช้งานกับกีตาร์แนวอะคูสติกทั้งหมด หรือใช้กับเครื่องสายใช้สี-ดีดที่เป็นอคูสติก
เพราะจะให้เสียงที่เป็นธรรมชาติมากที่สุดเหมือนต้น ฉบับของเสียงจริง ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับตัวปิคอัพที่ใช้ขยายเสียงด้วย ถ้าหากเป็นเทคโนโลยี Piezo อาจมีความเพี้ยนแตกต่างกันออกไปตามคุณภาพปิคอัพแต่ถ้าเป็นเทคโนโลยีไมโครโฟนจะมีความเป็นธรรมชาติสูงมาก

ตู้แอมป์คลาส เอบี (Class AB)

แอม์ขยายที่ได้รับความนิยมสูงสุด ด้วยการออกแบบที่นำข้อดีของแอมป์ทั้งคลาส เอ และคลาส บี มาผสมกัน คือ ปล่อยให้มีกระแสปริมาณต่ำๆ ใหลผ่านตัวขยายจำนวนหนึ่ง แม้ว่าจะไม่มีสัญญาณอินพุทเข้ามาเลย การทำงานปิดเปิดก็จะเป็นไปตามสัญญาณอินพุททั่วไป เพียงแต่ว่าวงจรนี้ จะไม่มีการปิดของกระแสทั้งหมด
แม้ว่าจะไม่มีอินพุทเข้ามาเลยก็ตาม จึงทำให้พาวเวอร์แอมป์คลาสนี้มีคุณภาพเสียงที่ค่อนข้างดี ถึงแม้จะไม่เท่าคลาส A ก็ตาม แต่ได้เปรียบในเรื่องของกำลังขับที่มากกว่า และเกิดความร้อนน้อยกว่า และคลาส AB นี้แหละเป็นแอมป์ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน และสามารถนำไปขับได้ทั้งลำโพงประเภทกลางและแหลม
หรือแม้แต่ดอกลำโพงเสียงต่ำหรือวูฟเฟอ์ก็สามารถขับได้ เช่นเดียวกัน

 

ตู้แอมป์คลาส ดี (Class D)

การออกแบบจัดวางชุดขยายสัญญาณเสียงที่แตกต่างกับ คลาส เอ ,คลาส บี หรือคลาส เอบี โดยสิ้นเชิง ซึ่งเครื่องขยายของคลาส เอ, บี, เอบี, ภาคขยายสัญญาณขาออก จะทำหน้าที่ขยายแรงหรือให้กำลังตามความแรงของสัญญาณขาเข้า ตู้แอมป์คลาส D เป็นการออกแบบให้ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการขยาย
ซึ่งแทนที่จะเสียกำลังไปในเรื่องของความร้อน เนื่องจากไม่ได้ทำงานตลอดเวลา เพราะความถี่สูงจะถูกตัดออกไปในช่วงระหว่างภาคจ่ายไฟบวก และลบ ทำให้อุปกรณ์ไม่ได้ทำงานตลอดเวลา ความร้อนจึงต่ำ เป็นพาวเวอร์แอมป์กำลังขับสูง เน้นหนักในเรื่องพละกำลังเพียงอย่างเดียว แอมป์ชนิดนี้ถูกออกแบบมาสำหรับขับซับโดยเฉพาะ
เหมาะกับพวกที่ชอบฟังเพลงหนักๆ เน้นพลังเบส กระแทกแรงๆ แบบนี้เป็นแอมป์ที่เรา นิยมมาขับซัพ กันเพราะมีวัตต์สูง แต่ก้อมีความเพี้ยนมากพอดู แอมป์คลาส D เป็นการออกแบบให้ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการขยาย ซึ่งแทนที่จะเสียกำลังไปในเรื่องของความร้อน เนื่องจากไม่ได้ทำงานตลอดเวลา
เพราะความถี่สูงจะถูกตัดออกไปในช่วงระหว่างภาคจ่ายไฟบวก และลบ ทำให้อุปกรณ์ไม่ได้ทำงานตลอดเวลา ความร้อนจึงต่ำ ในด้านประสิทธิภาพนั้นจึงสูงกว่า คลาส เอบี หลายเท่า แอมป์ Class D หลายท่านเข้าใจผิดว่าเป็นแอมป์ ดิจิตอล แต่แท้จริงแล้ว อาจจะคล้ายๆกัน ในแง่ของลักษณะในเชิงการทำงานแบบเปิดและปิด
แต่ไม่ใช่ในแง่ของการทำงานเพื่อขยายสัญญาณเสียง
ข้อจำกัดของ Class D คือ มักจะจำกัดการทำงานที่ความถี่ค่อนข้างต่ำ เพราะการขยายสัญญาณในภาคขาออกต้องทำการกรองคลื่นที่เป็น pwm ที่เป็น square wave ออกเพื่อให้กลับมาเป็นสัญญาณความถี่ในแบบ sine wave โดยมาก เครื่องขยายเสียง Class D
ทั่วไปจะกรองความถี่ที่ 500 Hz ฉะนั้นความถี่ที่ใช้งานได้ดีคือ จะสูงไม่เกิน 250 Hz หรือมากกว่าเล็กน้อย
แอมป์ คลาส D โดยทั่วไปเหมาะหรือตอบสนองสำหรับขับลำโพงความถี่ต่ำ หรือดอกซับส่วนการตอบสนองสำหรับลำโพงกลางแหลมนั้นถือว่ายังเป็นข้อจำกัดอยู่หากเปรียบเทียบกับคลาส AB (นอกซะจากเป็นแอมป์ Class D ระดับ Professional Full range จริงๆที่จะตอบสนองความถี่ได้กว้าง
และให้คุณภาพเสียงกลางแหลมเป็นที่น่าพอใจซึ่งก็จะตามมาด้วยราคาที่ค่อนข้างสูง)

ตู้แอมป์คลาส อี (Class E)

เครื่องขยายเสียง Class E ทำงานโดยใช้หลักการ สวิทชิ่ง แบบอ่อนๆ คือไม่ได้ใช้สวิทชิ่งเป็นหลักในการขยายสัญญาณโดยจะปล่อยให้มีสัญญาณหรือกระแสใหลผ่านจำนวนต่ำๆ เพื่อกระตุ้นการทำงานของภาคขาออกอยู่ตลอดเวลา เพื่อลดความเพี้ยนที่เรียกว่า ครอสโอเวอร์ ดิสทอร์ชั่น
หรือ switching distortion ซึ่งถือได้ว่ามีการออกแบบวงจรภาคจ่ายไฟที่ดีมาก จึงทำให้มีประสิทธิภาพสูง

ตู้แอมป์คลาส จี (Class G)

เป็นเครื่องขยายเสียงที่ใช้ไฟเลี้ยงตั้งแต่ 2 ชุด ขึ้นไป และจะทำงานโดยภาคขยายเสียงจะปรับไปใช้ไฟเลี้ยงที่สูงขึ้นหากสัญญาณขาเข้ามี ความแรงมากขึ้น จึงทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่จะมีปัญหาในช่วงการเปลี่ยนจากภาคจ่ายไฟ ที่จะปรับใช้ในแต่ละความแรงของสัญญาณขึ้นลงตลอดเวลา
จึงก่อให้เกิดความร้อนและการสูญเสียพลังงานในที่สุด สรุปง่ายๆ ก็คือ แอมป์คลาส G เป็นการออกแบบให้มีประสิทธิภาพให้สูงขึ้นมาอีกขั้น โดยลดการสูญเสียแรงดันของทรานซิสเตอร์ พื้นฐานใกล้เคีบงกับคลาส AB และมีประสิทธิภาพเท่าคลาส D หรือ T แต่การออกแบบวงจรจะมีความสลับซับซ้อนกว่ามาก



repair violin

ขอบคุณที่มากจาก : https://www.sounddd.shop/class-amplifier/

 

Copyright 2006 www.bravomusic.co.th all rights reserved.